การจดทะเบียนหย่า

การจดทะเบียนหย่า


การสิ้นสุดการสมรสมี 3 วิธี คือ

1. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
2. การจดทะเบียนหย่า
3. ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส

การหย่า ปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ

1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายกระทำได้ 2 วิธี คือ การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
2. การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน

การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล

เอกสารที่ใช้เพื่อการจดทะเบียนหย่า คือ

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบสำคัญการสมรส
  • หนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า

การจดทะเบียนหย่า

ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนหย่า

  • กรณีการจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน
    • คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
    • คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน
  • ในกรณีการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
    • คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า
    • คู่หย่าตกลงกันก่อนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก่อนหลัง และแต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนใด
    • คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตามที่ได้ตกลงกัน
  • กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
    • หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน โดยมีเงื่อนไขให้ไปจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด
ข้ามไปยังทูลบาร์